หน้าเว็บ

โครงการ Workable HELP

แนวคิดโครงการ Workable HELP:
ในประเทศไทยมีกฎหมายที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่เรียกได้ว่าแข็งแรงกว่าหลายประเทศทั่วโลก มีสิทธิประโยชน์มากมาย มีกฎหมายลูกหลายฉบับบังคับใช้ในแทบทุกกระทรวง โดยมีกลไกองค์กรด้านคนพิการ เช่น สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สมาคมหลักตามประเภทความพิการ มูลนิธิต่างๆ รับไม้ต่อจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งบประมาณประจำปี และงบประมาณจากกองทุนฯ คนพิการ

แต่เราในฐานะเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ กลับพบว่ามีคนพิการจำนวนมากถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้นำคนพิการระดับพื้นที่ บางรายจากองค์กรคนพิการระดับประเทศ และเรายังพบอีกว่าการให้ความช่วยเหลือคนพิการทั่วประเทศนั้น ส่วนใหญ่เป็นการชช่วยเหลือในลักษณะสงเคราะห์ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะส่งเสริมผลักดันให้คนพิการและครอบครัว สามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ (พพ.) จึงได้จัดตั้งเครือข่ายระดับจังหวัดขึ้น เช่น เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการจังหวัดกาฬสินธุ์ (พพจ. กาฬสินธุ์) ทำงานช่วยเหลือคนพิการและครอบครัวอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ทางเราจะเริ่มเผยแพร่และขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ดังนั้นตัวอย่างโครงการอีกโครงการชื่อ “Workable HELP” จึงเป็นอีกตัวอย่าง 1 ใน 5 โครงการที่จะริเริ่มในปี พ.ศ.2563 ที่มีความต้องการจะช่วยเหลือคนพิการรุนแรง ที่อยู่ในระดับทุพพลภาพ มีความพิการมาก จนต้องมีคนดูแลใกล้ชิด เช่น คนพิการกลุ่มไขสันหลังระดับคอ คนพิการทางสมองจนสามารถโต้ตอบได้ คนชราที่ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งทั้งหมดส่วนใหญ่นอนติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ คนในครอบครัวต้องดูแลตลอดเวลา

การดำเนินการ:
1.      ทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ (พพ.) ต้องการได้ผู้บริจาคที่มีจิตกุศลและพร้อมจะบริจาคเงินไปยังบัญชีของคนพิการรุนแรงที่เข้าร่วมโครงการทุกเดือน ลักษณะบริจาคระยะยาว เพื่อให้คนพิการรุนแรงและครอบครัวมีเงินบริจาคประจำเดือนทุกๆ เดือน โดยผู้บริจาคสามารถบริจาคตามจิตศรัทธาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ไม่เกิน 500 บาท เป็นประจำทุกเดือน ทั้งนี้ทางเครือข่าย พพ. ขอทำรายการส่งให้ผู้บริจาคทราบว่า บริจาคให้กับคนพิการรุนแรงชื่อนามสกุลใด
2.      ค้นหาและคัดเลือกคนพิการรุนแรงที่ตรงกับข้อกำหนด สัมภาษณ์ทำประวัติ และนำเผยแพร่บนเว็บไซต์เครือข่าย พพ. https://npr-pwd.blogspot.com/  ทั้งนี้ทางเครือข่าย พพ. ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสินใจเลือกคนพิการรุนแรงเข้าร่วมโครงการ
3.      ทางเครือข่าย พพ. จะจัดหา จัดเตรียม หรือประกาศขอรับบริจาคสิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ กับคนพิการรุนแรงที่เข้าร่วมโครงการ เช่น เตียงผู้ป่วย เตียงลม ชุดเครื่องนอน อุปกรณ์การแพทย์ ของอุปโภคบริโภค เป็นต้น และนำไปมอบให้ตามความเหมาะสม
4.      จัดเรียงข้อมูลผู้บริจาคและแจ้งไปยังผู้บริจาคว่าโอนเงินบริจาคตรงไปที่คนพิการรุนแรงรายใด โดยจะกำหนดระยะเวลากี่เดือน หรือระยะยาวให้กับผู้บริจาค
5.      ทางเครือข่าย พพ. จะสนับสนุนส่งเสริมให้คนพิการในโครงการ ได้อาชีพด้วยการใช้สิทธิมาตรา 35 หรือเข้าร่วมโครงการพิเศษของเครือข่าย พพ. ในการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม

6.      เมื่อคนพิการรุนแรงรายใด สามารถอยู่รอดได้ด้วยตัวเองและครอบครัว ทางเครือข่าย พพ. จะดำเนินการแจ้งผู้บริจาคให้เปลี่ยนรายชื่อคนพิการรุนแรงรายใหม่ เพื่อให้ผู้บริจาคได้ช่วยเหลืคนพิการรายใหม่ต่อไป












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น