หน้าเว็บ

20 กรกฎาคม 2562 @ เวทีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม 2019 (Social Equity Impact Forum THAILAND 2019) ตอนที่ 3/7 แบ่งปันประสบการณ์จากวิทยากรระดับโลก

สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับตอนที่ 3/7 ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ ของวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ประกอบด้วย คุณ Amitabh Behar ดำรงตำแหน่งซีอีโอประจำ Oxfam India ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านการลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน อดีตเคยเป็นผู้อำนวยการ National Foundation for India/ คุณ Anshu Gupta อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานขับเคลื่อนด้านสังคม ในปี 1999 เขาตั้งองค์กรชื่อว่า Goonj มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาในชุมชนชนบทที่ถูกมองข้ามภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจ/ คุณ Harry Jonas นักกฎหมาย และผู้ก่อตั้งองค์กร Future Law​  มุ่งมั่นทำงานบนคำถามท้าทายที่ว่า "จะทำอย่างไรให้กฎหมายเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น?" และคุณสุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (Research Judge of the Court of Appeal) 



ผมต้องเกริ่นให้ผู้อ่านทราบก่อนว่า ก่อนจะมีเวทีนี้ ผมเคยร่วมเวที 3 องค์กร มาแล้ว 1 ครั้ง แต่หลังจากนั้นยังมีการประชุมอีกหลายครั้งจนกว่าจะมาเป็น "เวทีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม" ทำให้ผมอยากมาเวทีนี้มาก เพราะงานที่กำลังทำ พิทักษ์สิทธิ์คนพิการนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมาย คนพิการและครอบครัว ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกละเมิดสิทธิ์ ทั่วประเทศ และก็ไม่ผิดหวังเพราะในวงย่อยของกลุ่มในวันที่ 2 นั้น ทำให้ผมทราบเทคนิคเพิ่มเติมในการต่อสู้จากพี่ๆ ที่ทำงานก่อนหน้านี้






คุณ Amitabh Behar เล่าประสบการณ์และมุมมองในการช่วยเหลือ
ผู้ยากไร้ในประเทศอินเดีย เห็นภาพความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน


ผมนั่งอยู่แถวหลังสุด เนื่องจากฟังเสียงแปลจากตัวรับเสียงที่จัดเตรียมไว้
ทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้ดี และผมได้ประโยชน์จากการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ






แอบถ่ายทีมงานไว้ด้วยครับ ตั้งใจกันทุกคน

แอบถ่ายทีมงานไว้ด้วยครับ ตั้งใจกันทุกคน

สำหรับคุณ Anshu Gupta มีความน่าสนใจในประเด็นที่ประสบความสำเร็จในการทำงานลักษณะมูลนิธิจนเป็นรูปแบบกิจการเพื่อสังคมจนได้รับรางวัลทั่วโลก มุมมองด้านการจัดการที่น่าสนใจคือ ควรเปลี่ยนแปลงฐานคิดคำว่า "ผู้ให้ (ผู้บริจาค) กับ ผู้รับ (ผู้รับบริจาค)" นั้นว่า ผู้ให้มีบุญคุณกับผู้รับ แต่ควรคิดว่า ถ้าไม่มีผู้รับคุณจะเอาสิ่งของที่อยากจะทิ้งไปไว้ที่ไหน ดังนั้น ผู้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตของผู้ให้นั้น มีความสุข มีความสมบูรณ์ มากขึ้น จึงควรพึ่งพาอาศัยกันไม่ดูแคลนผู้รับว่าด้อยค่า/ สำหรับชีวิตของคุณ Anshu Gupta  ยังมีความน่าสนใจในด้านชีวิตครอบครัว ที่ครอบครัวของคุณ Anshu Gupta  จะได้มาแบ่งปันในวันพรุ่งนี้ (ตอนที่ 7/7)

ถึงคิวคุณ Harry Jonas ซึ่งเป็นนักกฎหมาย และทำงานด้านการใช้กฎหมายในการขับเคลื่อนช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในหลายประเทศ ในใจอยากให้มาช่วยเหลือประเทศไทยบ้าง ผมตั้งใจจะหาโอกาสคุยกับคุณแฮรี่ ให้ได้ สิ่งที่ผมชอบคือ คุณแฮรี่ ศึกษาข้อมูลของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่ได้รางวัล Ashoka Fellow ว่ามี 4 กลุ่ม ซึ่ง 3 กลุ่มแรกมีความเกี่ยวพันในการใช้กฎหมายและเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายรวมกันมากกว่า 80% แน่นอนว่าโดนใจเพราะผมก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ

สำหรับท่านสุดท้ายเป็นสุภาพสตรี คุณสุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ซึ่งท่านเป็นผู้พิพากษา คุณสุนทรียา ไม่พยายามพาดพิงถึงระบบยุติธรรมในไทย แต่ฝากไว้ถึงมุมมองที่แตกต่างของแต่ละส่วนในการพิจารณาถึงความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความยุติธรรม ที่อาจจะหาข้อสรุปได้ยากในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้

หากทางคณะจัดงานมีการผลิตคลิปวีดีโอมาแบ่งปันสาธารณะ ผมจะรีบนำมาแชร์ไว้ในเว็บไซต์นี้นะครับ เพราะว่าน่าสนใจอย่างมาก ซึ่งผมอาจจะบรรยายไม่หมด

สำหรับบทความนี้อยากแบ่งปันข้อคิดว่า "ถ้าเราไม่เก่งภาษาอังกฤษ เราก็ควรใช้เครื่องฟังที่ผู้จัดงานตั้งใจจัดเตรียมให้ เพราะการฟังสำคัญมาก และการไม่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษนั้นไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไรครับ"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น