หน้าเว็บ

19 กรกฎาคม 2562 @ เวทีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม 2019 (Social Equity Impact Forum THAILAND 2019) ตอนที่ 1/7 ทำไมผมต้องมาเข้าร่วมงานนี้ให้ได้

สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับผมแล้วในปีนี้ งานสัมมนาสำคัญๆ มีหลายงาน แต่งานที่ส่วนตัวผมคิดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในความคิดผมคืองาน Social Equity Impact Forum THAILAND 2019 ซึ่งจัดที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2562 หัวข้อหลักเป็นเวทีแสดงความคิดเห็น ระดมความคิดเห็นเรื่อง ""ความเป็นธรรมทางสังคม" ในประเทศไทย แน่นอนว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะ ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเอง  จากการสำรวจล่าสุดปี 2018 จาก LIVING ASEAN สำคัญกว่านั้นมีวิทยากรรับเชิญถึง 4 ท่านที่มีประสบการณ์ชั้นเยี่ยมมาแบ่งปัน หากนับรวมผู้ดำเนินรายการอีก 1 ท่าน ก็ยอดเยี่ยมอีกเช่นกัน ทำให้ผมต้องไม่พลาดงานในครั้งนี้ ทิ้งท้ายอีกนิดนะครับ เวทีนี้ไม่ใช่ว่าใครก็เข้าร่วมได้ ต้องเป็นคนที่เป็นสมาชิก 3 องค์กรเท่านั้น คือ Ashoka, IE และ มคศน.

อย่างนั้นแล้ว ผมขอนำข้อมูลของวิทยากร และผู้ดำเนินรายการทั้ง 5 ท่าน ดังนี้ครับ

  1. Amitabh Behar ดำรงตำแหน่งซีอีโอประจำ Oxfam India ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านการลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน อดีตเคยเป็นผู้อำนวยการ National Foundation for India
  2. Anshu Gupta อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานขับเคลื่อนด้านสังคม ในปี 1999 เขาตั้งองค์กรชื่อว่า Goonj มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาในชุมชนชนบทที่ถูกมองข้ามภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจ
  3. Harry Jonas นักกฎหมาย และผู้ก่อตั้งองค์กร Future Law​  มุ่งมั่นทำงานบนคำถามท้าทายที่ว่า "จะทำอย่างไรให้กฎหมายเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น?"
  4. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (Research Judge of the Court of Appeal) 
  5. สุภิญญา กลางณรงค์ เป็นนักกิจกรรมสังคมด้านสื่อ รณรงค์และขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิสื่อ การยกระดับคุณภาพงานข่าว รวมทั้งผลักดันสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการเฝ้าระวังข่าวลวง


Amitabh Behar ดำรงตำแหน่งซีอีโอประจำ Oxfam India องค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านการลดความเหลื่อมล้ำ
และความย
ากจน ผู้อำนวยการ National Foundation for India

เปิดตัว speaker ในงาน Social Equity Impact Forum 2019

Amitabh Behar ดำรงตำแหน่งซีอีโอประจำ Oxfam India ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นด้านการลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน อดีตเคยเป็นผู้อำนวยการ National Foundation for India

เขาเป็นผู้นำและนักเคลื่อนไหวที่โดดเด่นคนหนึ่ง โดยแสดงความเห็นผ่านหน้าสื่อหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกมิติ รวมทั้งมิติการลดความเหลื่อล้ำในการพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถึงการสร้างกลไกความรับผิดชอบของภาครัฐ

นอกจากนี้ เขายังเป็น Ashoka Fellow และนั่งในตำแหน่งสำคัญมามากมาย ได้แก่ คณะกรรมการในบอร์ดของ Amnesty International India, NavsarjanและYuva, รองประธานบอร์ดของ CIVICUS, คณะกกรมการบอร์ดของ Centre for Budget and Governance Accountability (CBGA), Mobile Crèche, VANI, Global Fund for Community Foundation (GFCF)

Amitabh จะขึ้นเวทีพูดในหัวข้อ “Inequality: Global and regional situation and trends” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความยากจน

Anshu Gupta อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานขับเคลื่อนด้านสังคม ปี 1999 เขาตั้งองค์กรชื่อว่า Goonj มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาในชุมชนชนบท
ที่ถูกมองข้ามภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจ

พบกับ Anshu Gupta อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานขับเคลื่อนด้านสังคม ในปี 1999 เขาตั้งองค์กรชื่อว่า Goonj มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาในชุมชนชนบทที่ถูกมองข้ามภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจ 

Anshu ริเริ่มโครงการ "Cloth for Work" รณรงค์ให้ชุมชนในชนบทร่วมกันแก้ปัญหาของตนเอง เช่น ร่วมกันก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ถนน น้ำประปา พัฒนาโรงเรียนและโรงพยาบาล โดยค่าแรงที่ชุมชนได้รับคือสิ่งของหรือวัสดุรีไซเคิลจากในเมือง เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้สอยในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ และธัญพืช เป็นต้น 

ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการพัฒนาที่นำโดยระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา ไปสู่แนวคิดการพัฒนาแบบ “Pay it forward” หรือการแลกเปลี่ยนด้วย “การให้” ผ่านการแบ่งปันสิ่งของ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Anshu ได้รับคัดเลือกเป็น Ashoka และ Schwab Fellow นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกจากนิตยสารฟอร์บ ให้เป็นผู้ประกอบการทางสังคมที่มีพลังมากที่สุดคนหนึ่งในอินเดีย รวมทั้งยังได้รับรางวัล Public Service Excellence Award จาก AIMA ในปี 2017 

Anshu จะเข้าร่วม Social Equity Impact Forum 2019 ในวันที่ 19-21 ก.ค. นี้ ณ โรงแรมสามพราน รีเวอร์ไซด์ โดยขึ้นพูดบนเวทีในหัวข้อ Global Perspective on Social Equality - "Look Beyond, See Invisible" เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ชวนให้มองประเด็นความท้าทายในการทำงานที่เราอาจจะมองไม่เห็น 

Harry Jonas นักกฎหมาย และผู้ก่อตั้งองค์กร Future Law​ 
มุ่งมั่นเพื่อ
 "จะทำอย่างไรให้กฎหมายเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น?"

พบกับ Harry Jonas นักกฎหมาย และผู้ก่อตั้งองค์กร Future Law มุ่งมั่นทำงานบนคำถามท้าทายที่ว่า "จะทำอย่างไรให้กฎหมายเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น?"

เพราะที่ผ่านม แม้ระบบกฎหมายจะช่วยพัฒนาสังคม ปกป้องสิทธิและชีวิตผู้คน แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ระบบกฎหมายสร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน 

ขณะที่กฎหมายบางตัว
ก็เป็นตัวกีดกั้นความเจริญก้าวหน้าของสังคม สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มประชากร

จึงทำงานร่วมกับผู้นำทั่วโล
เพื่อผลักดันให้กฎหมายมีประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และโลกในภาพรวมโดยแท้จริง 

Harry ได้รับเลือกเป็น
Ashoka Fellow เขายังทำงานให้กับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN, เป็น Legal Research Fellow ที่ Centre for International Sustainable Development Law, รวมทั้งยังทำงานร่วมกับกลุ่ม Forever Sabah เพื่อปกป้องสัตว์อนุรักษ์ในทะเลในมาเลเซีย

Harry จะเข้าร่วม Social Equity Impact Forum 2019 ในวันที่ 19-21 ก.ค. นี้ ณ โรงแรมสามพราน รีเวอร์ไซด์ โดยขึ้นพูดบนเวทีในหัวข้อ "Some of my best friends are lawyers': New insights into the relationship between social equity, changemakers and the law."

สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
(
Research Judge of the Court of Appeal)

พบกับ สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (Research Judge of the Court of Appeal) 

เคยผ่านบทบาทสำคัญมามากมาย รวมทั้งเคยเป็นผู้บริหารสถาบันวิจัยทางตุลาการ ซึ่งเธอมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุง พัฒนา และสร้างกลไกในการพิจารณาคดีที่มีความรับผิดชอบ และตอบสนองคดีอย่างเป็นธรรม

นอกจากนี้ เธอมีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการด้านสิทธิมนุษยชนในสถาบันนานาชาติหลายแห่ง และยังผลิตงานวิจัยออกมาในหลายด้าน ได้แก่ การปฏิรูปศาลและกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิเด็ก สิทธินักโทษ ความเป็นธรรมทางเพศ และระบบพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม 

สุนทรียาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้นำเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นาการสร้างสุขภาวะ (คศน.) โดยเธอจะขึ้นเวทีพูดในหัวข้อ “Roles and Responsibility of Government Authority in Addressing Social Equity” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในภาครัฐ อันเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความเป็นธรรมในสังคม 


สุภิญญา กลางณรงค์ เป็นนักกิจกรรมสังคมด้านสื่อ รณรงค์และขับเคลื่อน
ในประเด
็นสิทธิสื่อ การยกระดับคุณภาพงานข่าว รวมทั้งผลักดันสิทธิ
ในการเข
้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการเฝ้าระวังข่าวลวง

พบกับ สุภิญญา กลางณรงค์ เป็นนักกิจกรรมสังคมด้านสื่อ รณรงค์และขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิสื่อ การยกระดับคุณภาพงานข่าว รวมทั้งผลักดันสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการเฝ้าระวังข่าวลวง  

สุภิญญาร่วมก่อตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการและรองประธานคปส. จนกระทั่งในปี 2554-2561 ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) 

นอกจากนี้ เธอยังเป็น Ashoka Fellow และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการจริยธรรมสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 

สุภิญญาจะเข้าร่วมงาน Social Equity Impact Forum 2019 ในวันที่ 19-21 ก.ค. นี้ ณ โรงแรมสามพราน รีเวอร์ไซด์ โดยเธอจะเป็นผู้ดำเนินรายการใน “เวทีเสวนาเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม: Panel Discussion on Social Equity Impact”


สำหรับบทความชุดนี้ ผมจะพิมพ์ทั้งหมด 7 ตอนนะครับ ติดตามสาระทั้ง 7 ตอนได้ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น