หน้าเว็บ

20 กรกฎาคม 2562 @ เวทีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม 2019 (Social Equity Impact Forum THAILAND 2019) ตอนที่ 4/7 น่าสนใจมากระหว่าง "ความเป็นธรรมกับกระบวนการยุติธรรม"

สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับตอนที่ 4/7 ก็ต่อเนื่องมาจากตอนที่ 3/7 นะครับ ที่วิทยากรทั้ง 4 ท่าน คือ Mr.Amitabh Behar, Mr.Anshu Gupta, Mr.Harry Jonus และ คุณสุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ได้แบ่งปันประสบการณ์อันมีค่าในการทำงานช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนจากความไม่เป็นธรรมในสังคม ในช่วงเช้า และในช่วงบ่าย ทั้ง 4 ท่าน จะแยกย้ายกันเข้าห้องย่อย เพื่อระดมความคิด ปรับความเข้าใจ ในแต่ละหัวข้อ ซึ่งแน่นอนว่าตัวผมเองที่ออกมาเปิดโปง การทุจริตคอรัปชั่นสิทธิ์คนพิการ ผมจึงเลือกห้อง "ความเป็นธรรมกับกระบวนการยุติธรรม" เพราะผมต้องการนำประสบการณ์ของทุกท่านในห้องมาปรับใช้กับการต่อสู้ขับเคลื่อนต่อไป 

Harry Jonas นักกฎหมาย และผู้ก่อตั้งองค์กร Future Law​ 
มุ่งมั่นเพื่อ
 "จะทำอย่างไรให้กฎหมายเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้น?"

สำหรับห้องนี้ มีคุณ Harry Jonas ร่วมด้วยครับ นั่งท้ายห้อง และร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม โดยมีน้องแอมป์ และน้องเจตน์ ช่วยเป็นล่ามให้ เรียกได้ว่าเข้มข้นตั้งแต่ตั้งธงคุยกันเรื่อง "ความเท่าเทียม" กับ "ความเสมอภาค" ถกกันจนคุณแฮรี่ ถึงกับเอ่ยปากชมว่า เป็นการแลกเปลี่ยนพูดคุยที่เต็มไปด้วยพลังงานที่พลุ่งพล่าน ด้วยความชื่นชม



ลิงก์ที่มาของข้อมูล: https://livingasean.com/explore/thailand-income-equality-wealth-report-2018-indonesia-economy/?fbclid=IwAR1c1MGb69xsGT34tNatAhnzq4tIxblpmSpzrmpOTvw5muEKERmPKxwX71Y

หากเราลองดูตามตารางจะพบว่า ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย คนมีรายได้น้อย ในประเทศไทยนั้น มีความแตกต่างกันมาก ส่งผลให้ประเทศไทย มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม มากเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียนครับ กลับมาที่ภายในห้อง "ความเป็นธรรมกับกระบวนการยุติธรรม" ก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างเข้มข้น แต่ละท่านที่ได้แสดงความคิดเห็นนั้น ทิศทางไปในทางเดียวกันคือ ในประเทศไทย ความเป็นธรรม และระบบยุติธรรม มีกลไกบางอย่างที่ทำให้มีปัญหาในหลายๆ ขั้นตอน


















ผมขอคัดลอกข้อความของคณะทำงานในห้องนี้ มาแบ่งปัน ซึ่งได้สรุป ห้องความเป็นธรรมกับกระบวนการยุติธรรม ดังนี้ครับ

'กระบวนการยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นธรรม' ดังนั้นการสร้าง 'นิเวศความเป็นธรรม' ให้เกิดขึ้นคือแนวทางที่จะสร้างความเป็นธรรมในระบบยุติธรรม

ระบบยุติธรรมแบบแคบที่ประกอบด้วย ตำรวจ อัยการ ศาล ตามความติดเดิม จะต้องเปลี่ยนให้กลายเป็นระบบยุติธรรมแบบกว้างกว่านั้น ที่ สังคม-ชุมชน นิติบัญญัติ ราชทัณฑ์ ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในภาพของ "ระบบยุติธรรม" แบบเดิม

เมื่อมองระบบยุติธรรมที่กว้างขึ้น เราจึงสามารถทำงานให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมได้ไม่ได้ติดกับอยู๋แค่ในกระบวนการยุติธรรม ที่แท้จริงแล้วระบบยุติธรรมเป็นแค่ ระบบบริการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ปลายทาง เท่านั้น

ข้อเสนอทางออกในการทำงานกับพื้นที่กล่องดำของระบบยุติธรรม ตามหลัก PowerCube
*สร้างพื้นที่สนทนาที่พูดกันได้ สร้างข้อความ และขับเคลื่อน
*สร้างความรู้พื้นฐาน เพิ่มงานวิจัยและงานวิชาการ เช่นเปลี่ยนภาษากฎหมายให้เข้าใจได้ง่าย ให้คนทั่วไปเข้าใจเข้าถึง ไม่ใช่การท่องมาตรากฎหมาย
*พัฒนาและสร้างนวตกรรมที่จะเชื่อมโยงข้อมูลเรื่องความรู้ที่มี เช่นกรณีศึกษา
*กระบวนการยุติธรรมต้องเปิดเผย-โปร่งใส เช่น เสนอกฎหมายที่ระบุว่า ศาลต้องรายงานข้อมูลอะไรบ้างต่อสภาเพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ
*สร้างวิธีการให้ระบบยุติธรรมสามารถถูกวิภาษวิจารณ์ (review) ได้
***เสนอให้ สามเครือข่าย 'AKE' สร้างทีมงานร่วมกัน***

โปรดติดตามภาคสองในเร็วๆนี้ กับผู้นำทั้ง 12 ท่าน (เรารอพบกับวีดีโอของทั้ง 12 ท่านครับ)

ภาพถ่ายหมู่ของวิทยากร ทีมงานและสมาชิกอโชก้า ประเทศไทย

สำหรับตอนที่ 4/7 นี้ ผมมีสิ่งที่อยากฝากทุกท่านว่า ความยุติธรรมนั้น ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เช่น จากทนายความที่เห็นแก่เงิน จากกลุ่มคนเลวที่เอากฎหมายแสดงความมีอำนาจข่มเหงคนที่ไม่รู้กฎหมายหรืออ่อนแอกว่า ดังนั้น ลำดับแรกเราต้องรู้กฎหมายให้เท่าทันพวกใช้กฎหมายในทางที่ผิด เราต้องเลือกทนายที่ดี ที่ให้คำแนะนำที่ดีกับเรา ผมอาจจะอินไซต์นิดหน่อย เพราะกำลังพัวพันถูกฟ้องศาลถึง 4 คดี และจ่อรออีก 1 คดี ในขณะที่ในเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการมีถูกฟ้อง 1 คดี และถูกแจ้งความ 1 คดี สำหรับผมถือเป็น "ร่องรอยแห่งการต่อสู้" กับคนที่ทุจริตคอรัปชั่นและมีอำนาจ ในเร็ววันนนี้คดีทั้งหมดคงจะยุติเสร็จสิ้น ถึงเวลานั้น จะนำมาแบ่งปันเป็นประสบการณ์ให้ได้อ่านกัน แต่จะเป็นซีรี่ส์ยาวนะครับ คอยติดตามอ่านกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น