โครงการ “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “รู้ยิ้ม” รู้กฎหมาย เข้าใจสิทธิ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”
โครงการขยายผลกระทบการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้สูงอายุ
เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำและโอกาสทางสังคมในการดำรงชีวิตพื้นฐานในประเทศไทย
ประจำปี พ.ศ.2564
สำรองที่นั่งฟรี 086-314-7866 (LINE)
ติดต่อ นายปรีดา ลิ้มนนทกุล
ตัวอย่างคู่มือกฎหมายและสิทธิคนนพิการ (อยู่ในระหว่างปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา)
..........................................................................
โครงการ “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “รู้ยิ้ม” รู้กฎหมาย เข้าใจสิทธิ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”
โครงการขยายผลกระทบการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้สูงอายุ
เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำและโอกาสทางสังคมในการดำรงชีวิตพื้นฐานในประเทศไทย
สถานที่
ครั้งที่ 1/2564 วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 8.30 - 17.30 น. ณ หอประชุม โรงเรียนหนองสอพิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์ อบรม 30 ที่นั่ง *หมายเหตุ: ที่นั่งเต็มแล้ว
ครั้งที่ 2/2564 วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8.30 - 17.30 น. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อบรม 30 ที่นั่ง *หมายเหตุ: เหลือ 20 ที่นั่ง
ครั้งที่ 3/2564 วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 8.30 - 17.30 น. จังหวัดชลบุรี อบรม 30 ที่นั่ง *หมายเหตุ: เหลือ 10 ที่นั่ง
ครั้งที่ 4/2564 วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565 เวลา 8.30 - 17.30 น. จังหวัดตาก หรือพิจิตร อบรม 30 ที่นั่ง *หมายเหตุ: เหลือ 30 ที่นั่ง
ครั้งที่ 5/2564 วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 8.30 - 17.30 น. จังหวัดนนทบุรี อบรม 30 ที่นั่ง *หมายเหตุ: เหลือ 20 ที่นั่ง
..................................
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 8.30 - 17.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร 21 คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (วิทยาเขตนนทบุรี) จังหวัดนนทบุรี ใกล้ รพ.พระนั่งเกล้า
ลิงก์แผนที่ https://goo.gl/maps/cjDgBKBZuDD2
หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลสถิติ ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ประเทศไทยมีประชากรคนพิการจำนวน ๑.๙ ล้านคน พบว่ากว่า ๙
แสนคนเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านร่างกาย การเจ็บป่วย
จึงมาขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ เพื่อขอรับสวัสดิการจากรัฐบาล เช่น เบี้ยยังชีพคนพิการ
รายเดือนๆ ละ ๘๐๐ บาท รวมกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดือนๆ ละ ๖๐๐-๘๐๐ บาท
เพื่อนำไปดำรงชีวิตประจำวัน และมีคนพิการโดยรวมไม่ถึง ๓๐,๐๐๐
คน ที่มีความรู้ความสามารถในระดับ ปวส.-ปริญญาเอก ประกอบอาชีพมีรายได้
ดังนั้นโดยภาพรวมคนพิการ ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุกว่า ๕๐% จะมีฐานะยากจน
ดังนั้นคนพิการส่วนใหญ่ในระดับพื้นที่รวมถึงครอบครัว
เช่น ผู้ดูแลที่มีชื่อหลังบัตรประจำตัวคนพิการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น บิดา มารดา สามี
ภรรยา พี่น้อง บุตรธิดา และญาติๆ ที่ต้องหาเช้ากินค่ำ
รู้เพียงสิทธิ์พื้นฐานเรื่องการได้รับเบี้ยยังชีพ เป็นส่วนใหญ่ แต่สิทธิ์อื่นๆ
จะไม่ค่อยทราบ ยกตัวอย่างเช่น สิทธิ์การได้รับเงินสนับสนุนครั้งละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ปีละ ๒ ครั้ง จากองค์กรท้องถิ่น หรือ
หน่วยงานตรงจากกระทรวง พม. ที่กำลังโด่งดังกรณี “โกงเงินคนไร้ที่พึ่ง” มีการคอรัปชั่น จากหน่วยงานราชการ
มีการเซ็นต์ชื่อว่าได้รับเงินทั้งๆ ที่ผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน
ไม่ทราบเรื่องไม่เคยเซ็นต์ชื่อ ประชากรกลุ่มนี้ ส่วนหนึ่งเป็นคนพิการ
อีกตัวอย่างที่ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ได้เคยพูดคุยกับคนพิการระดับพื้นที่
พบว่ามีงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ในเรื่องการปรับปรุงบ้าน หลังคาเรือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
แต่มีการมอบโถส้วมแบบนั่งราคาพร้อมติดตั้งไม่ถึง ๒,๐๐๐ บาท
ไล่แจกตามบ้านและมีการเซ็นต์เอกสารรับโถส้วมเฉพาะบ้านคนพิการกันทั้งหมู่บ้าน
คนพิการก็ไม่ทราบว่าเป็นงบประมาณจากส่วนไหน ได้รับของฟรี
ก็รับเพราะไม่ต้องจ่ายเงิน
กรณีนี้คนพิการก็จะไม่ทราบว่าที่มาที่ไปของงบประมาณมาจากไหน
ทำให้คนพิการตกเป็นเครื่องมือในการคอรัปชั่นอีกรูปแบบหนึ่ง
พบว่ายังมีรูปแบบการคอรัปชั่นในระดับพื้นที่อีกมากมาย เช่น การขายสิทธิ์
ขายบัตรคนพิการ ตามกฎหมายการจ้างงาน มาตรา ๓๓ แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ.๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๖ ที่มีมูลค่าถึงปีละ ๑๐๙,๕๐๐ บาท
หรือเดือนละ ๙,๑๒๕ บาท เมื่อผู้รู้กฎหมายคือ
ผู้นำคนพิการระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ เป็นผู้ลงมือกระทำการคอรัปชั่นเอง
โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สมยอมกัน ให้คนพิการไม่ต้องไปทำงานในสถานประกอบการ
และรับเงินประจำเดือนอยู่ที่บ้าน เดือนละ ๕๐๐-๖,๐๐๐ บาท ขึ้นอยู่กับเหตุผลทางการเงินว่าจะคอรัปชั่นกันอย่างไร
แทนที่เงินดังกล่าวจะสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา
๓๔ ตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว เป็นต้น
จากประสบการณ์ตรงของผู้รับผิดชอบโครงการ
เมื่อลงพื้นที่บรรยายความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จะทำให้คนพิการมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ที่ควรได้รับจากกฎหมาย พระราชบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศคำสั่ง หลายๆ ฉบับ ทำให้ข้าราชการท้องถิ่น ระดับจังหวัด
และผู้นำคนพิการทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ ไม่สามารถจะหลอกลวงคนพิการได้
คนพิการจะพิทักษ์สิทธิ์ของตนเองมากขึ้น อย่างน้อยถ้าจำยอมเพราะไม่มีทางเลือก
ก็ยังทราบสิทธิ์ในรายละเอียด ทำให้สามารถปกป้องสิทธิ์ของตนเองได้มากขึ้นกว่าเดิม
การที่คนพิการได้รับความรู้เรื่องกฎหมาย
ทำให้รู้สิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย ย่อมจะสามารถลดการคอรัปชั่นจากผู้รู้กฎหมายได้แล้ว
ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนพิการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันเป็นเจตนารมย์ของกฎหมาย
และยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำและโอกาสทางสังคมให้กับคนพิการได้
หากคุณภาพชีวิตของคนพิการค่อยๆ ดีขึ้น
ประเทศชาติก็จะลดภาระที่รัฐบาลต้องมีสวัสดิการรัฐเข้ามาดูแลคนพิการในอนาคตได้ ทำให้การพัฒนาการประชากรในประเทศ
สำหรับกลุ่มคนพิการ ก้าวข้ามจากกฎหมายลักษณะสังคมสงเคราะห์ สู่หลักสิทธิมนุษยชนได้อย่างสมบูรณ์วัตถุประสงค์โครงการ
๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย
(คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้เกี่ยวข้อง) ได้รับความรู้ด้านกฎหมายของ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และกฎหมายฉบับอื่นๆ เพื่อให้มีความเข้าใจถึงสิทธิพื้นฐานในด้านต่างๆ
ของคนพิการ
๒. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย (คนพิการ
ผู้ดูแลคนพิการ และผู้เกี่ยวข้อง) ได้ทราบถึงความสำคัญของการนำระเบียบ ข้อบังคับ
ต่างๆ ของ พรบ. แต่ละฉบับไปปรับใช้ให้เข้าถึงสิทธิ์
เกิ่ดการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้จริง
๓. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย
ทราบภารกิจของกองทุนยุติธรรม และสามารถนำเอาหลักการของโครงการ
“สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “รู้ยิ้ม” รู้กฎหมาย เข้าใจสิทธิ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”
โดย กองทุนยุติธรรม ไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อขยายองค์ความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิ์ผ่านกลไกของกองทุนยุติธรรมระดับจังหวัด
กิจกรรมโครงการ
กิจกรรมหลักของโครงการ
เป็นการให้ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการหลายฉบับ โดยการบรรยายแบบนั่งฟังบรรยาย
(Class
Room) และแบบปฏิบัติการ (Workshop) จำนวน ๑
ครั้งๆ ละ ๓๐ คน ระยะเวลาตั้งแต่ ๙.๐๐ – ๑๖.๔๕ น. โดยมีตารางเวลาการอบรม ดังนี้
การ “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “รู้ยิ้ม” รู้กฎหมาย เข้าใจสิทธิ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”
สำหรับผู้นำคนพิการ ผู้นำคนพิการและผู้นำชุมชน โดย กองทุนยุติธรรม
เวลา
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. กล่าวเปิดโครงการ โดยผู้แทนจาก “กองทุนยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรมม”
บรรยายหัวข้อ สถานการณ์คนพิการในประเทศไทย
และความก้าวหน้าของกฎหมายสงเคราะห์สู่กฎหมายสิทธิมนุษยชน
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. บรรยายหัวข้อ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิคนพิการ
สู่กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ต่างๆ กว่า ๒๐
ฉบับ และสิทธิคนพิการมากมาย
๑๒.๐๐ – ๑๒.๔๕ น. พักทานอาหารกลางวัน
๑๒.๔๕ – ๑๔.๓๐ น. แบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่มๆ ละ ๖ คน
ให้ทำกิจกรรมกลุ่มพิทักษ์สิทธิคนพิการ โดยแต่ละกลุ่มมีหัวหน้ากลุ่ม
หรือพี่เลี้ยงกลุ่ม ให้คำปรึกษา มีการจัดตั้งองค์กร เครือข่ายทุกกลุ่มต้องร่างสิทธิต่างๆ
ที่คนพิการในกลุ่มควรได้รับจากกฎหมายฉบับต่างๆ
๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. บรรยายหัวข้อ การบริหารจัดการโครงการต่างๆ
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ และรายละเอียดของเอกสารด้านกฎหมาย
และคำขอต่างๆ
๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน
ต้องเขียนแผนการบริหารจัดการให้คนพิการในพื้นที่ตนเอง โดยลงบันทึกตามแบบฟอร์มของโครงการ
(เสร็จแล้วนำไปถ่ายสำเนาให้เจ้าหน้าที่)
๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. หัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่ม ออกมาหน้าเวที
เพื่อกล่าวสรุปถึงการจัดตั้งเครือข่ายของตนเอง แผนงานของเครือข่ายและสิทธิต่างๆ
ที่คนพิการในกลุ่มจะได้รับ
๑๖.๓๐ – ๑๖.๔๕ น. ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน ต้องเขียนแผนการบริหารจัดการให้คนพิการในพื้นที่ตนเอง ได้รับความรู้เช่นเดียวกับที่ตนเองได้รับ/ สอบถาม และสรุปการสัมมนา/ กล่าวปิดโครงการ
สัมมนาเชิงปฏิบัติการทั้งหมด ๑ ครั้ง
โดยจะประสานงานขอใช้สถานที่ของหน่วยงานราชการท้องถิ่นต่างๆ เช่น อบต. อบจ. เทศบาล
สาธารณสุข โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นต้น ในเขตจังหวัดนนทบุรี มีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
คนที่มีศักยภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ สามารถนำความรู้ที่ได้รับ
ไปช่วยเหลือคนพิการในพื้นที่ตนเองได้ จำนวน ๓๐ คน จาก ๑๔ จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ จ.สมุทรปราการ จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี
จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.กาฬสินธุ์ จ.อุดรธานี จ.นครพนม
จ.ลำปาง จ.ลำพูน จ.สุราษฎร์ธานี จ.สระบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.นครราชสีมา จ.ชลบบุรี จ.ระยอง เป็นต้น (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จำนวน ๔ คน จังหวัดอื่น ๑๓ จังหวัดๆ ละ ๒ คน) โดยจะได้รับเอกสารชุดเต็ม
และข้อมูลซอฟต์ไฟล์ เพื่อนำเอกสารที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบรรยาย
หรือช่วยเหลือในการจัดทำโครงการได้เอง ยื่นคำขอต่างๆ ได้เอง รวมถึงการขออนุมัติโครงการกับกองทุนยุติธรรมจังหวัด
หลังจบการสัมมนา ผู้รับผิดชอบโครงการทำเล่มรายงานสรุปผลการดำเนินการโครงการส่งมอบให้กับทาง
“กองทุนยุติธรรม”กลุ่มเป้าหมาย
๑. คนพิการ และผู้สูงอายุ (ขึ้นทะเบียนคนพิการ) ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ จ.สมุทรปราการ
จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี จ.นครปฐม
จ.สมุทรสาคร จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.กาฬสินธุ์ จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.ลำปาง
จ.ลำพูน จ.สุราษฎร์ธานี จ.สระบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.นครราชสีมา จ.ชลบบุรี จ.ระยอง เป็นต้น
๒. ผู้ดูแลคนพิการ ญาติคนพิการ (มีรายชื่อหลังบัตรคนพิการ)
ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ จ.สมุทรปราการ
จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี
จ.กาฬสินธุ์ จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.ลำปาง จ.ลำพูน จ.สุราษฎร์ธานี จ.สระบุรี
จ.สุพรรณบุรี จ.นครราชสีมา จ.ชลบบุรี
จ.ระยอง เป็นต้น
๓. ผู้นำชุมชน ข้าราชการท้องถิ่น ผู้นำคนพิการ
จากทั่วประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.
กลุ่มเป้าหมาย ได้ทราบถึงการเข้าถึง
กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ดังเช่นโครงการนี้ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนยุติธรรม
ในการออกบรรยายกฎหมายสำหรับคนพิการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และทำให้ทราบถึงภารกิจของกองทุนยุติธรรม
ในการลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความทุกข์ยาก คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
และเร่งรัดปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น
ซึ่งตรงกับสภาวการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับวงการคนพิการในประเทศไทย
๒.
กลุ่มเป้าหมาย รู้กฎหมาย ทราบสิทธิ์
และนำไปปฏิบัติ ให้เข้าถึงสิทธิ์ และกองทุนต่างๆ ตาม ระเบียบ คำสั่ง พรบ. หลายฉบับ
อันเป็นการส่งเสริมคนดีเข้าสู่สังคม สามารถพัฒนาตนเองจนเป็นจิตอาสาที่มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพัฒนาเป็นเครือข่ายในระดับพื้นที่
๓. กลุ่มเป้าหมายหลังจากได้นำไปปฏิบัติแล้ว
ยังสามารถแนะนำ หรือช่วยเหลือ ให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ รายอื่น
สามารถนำไปปฏิบัติให้เข้าถึงสิทธิ์ และกองทุนต่างๆ ตาม ระเบียบ คำสั่ง พรบ.
หลายฉบับ ได้เช่นกัน อันเป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีในระดับพื้นที่
ขยายพื้นที่ให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มคนพิการและผู้เกี่ยวข้อง
ครอบครัวคนพิการ
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบ