หน้าเว็บ

โครงการ: “ยืมยืดชีวิต สร้างอาชีพ ๑๐๐ ครอบครัวคนพิการ สู้โควิด ๑๙”


ชื่อโครงการ: “ยืมยืดชีวิต สร้างอาชีพ ๑๐๐ ครอบครัวคนพิการ สู้โควิด ๑๙”

ความเป็นมาของโครงการ:
ตลอดระยะเวลาที่ทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ ออกมาตต่อสู้เรียกร้องความถูกต้องจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องว่ามีกลุ่มบุคคล องค์กร ที่ทุจริตคอรัปชั่นโกงสิทธิ์คนพิการตามมาตรา 33 (จ้างงานคนพิการ) และมาตรา 35 (ส่งเสริมอาชีพคนพิการ) ตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนพิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 จนถึงปัจจุบัน ทั้งๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าคนพิการที่มาร้องเรียนถูกโกง แต่ถึงวินาทีนี้ยังไม่มีผู้นำคนพิการรายใด สมาคม/ มูลนิธิที่กระทำความผิดแห่งใด รวมถึงเจ้าหน้ารัฐทั้งตัวบุคคล/ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้รับโทษ แม้แต่รายเดียว

สำคัญกว่านั้นหลายปีล่วงเลยมาแล้ว คนพิการและครอบครัวทั้งหมด (บางรายเสียชีวิตแล้ว) ยังไม่มีใครสักคน ที่ได้รับการเยียวยา ในสิทธิ์ต่างๆ ที่ถูกโกงไป ก็เพราะการเยียวยาจะเป็นหลักฐานแสดงว่ามีการโกงทุจริตจริง หน่วยงานรัฐจึงไม่เยียวยา เพราะหน่วยงานรัฐบอกว่าไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการละเว้นเพิกเฉย และไม่ได้ทำผิดวินัยใดๆ ผู้นำคนพิการที่โกงสิทธิ์คนพิการ สร้างความเสียหายกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี จึงลอยนวล หรือว่าข่าวลือว่ามีการส่งส่วยจะเป็นจริง ทำให้ขบวนการและกระบวนการทุจริตคอรัปชั่นประพฤติมิชอบ จึงสมบูรณ์แบบขนาดนี้ ปกปิดทุกอย่างได้อย่างไม่เกรงกลัวบาปกรรม และกฎหมายบ้านเมือง

แนวคิดในการเยียวยาครอบครัวคนพิการด้วยการยืมเงินคนไทยผู้ใจบุญ:
ประเทศไทยมีชุดกฎหมายกฎหมายการจ้างงานคนพิการ มาตรา 33-34-35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทำให้สถานประกอบการ (รัฐวิสาหกิจและเอกชน) และหน่วยงานรัฐ ต้องจ้างงานคนพิการจำนวน มากกว่า 80,000 คน (มาตรา 33) แต่หากไม่จ้างคนพิการสามารถที่จะเลือกจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมคนพิการฯ (มาตรา 34) มูลค่า = ค่าแรงขั้นต่ำ x จำนวนวัน = 308 x 365 วัน = 112,420 บาท หรือส่งเสริมอาชีพให้กับครอบครัวคนพิการ (มาตรา 35) แทนก็ได้ โดยส่งเสริมอาชีพให้กับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 112,420 บาท (เท่ากับการสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมคนพิการฯ) เช่น อาชีพเกษตรกรรม (เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่-เป็ด เพาะเห็ด เป็นต้น) อาชีพร้านค้าปลีก อาชีพขายอาหารแปรรูป อาชีพขายวัตถุดิบอาหาร อาชีพร้านกาแฟ อาชีพทำเบเกอรี่ อาชีพซักอบรีด อาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า อาชีพวาดภาพ เป็นต้น

แต่การส่งเสริมดังกล่าวจากสถานประกอบการเอกชนนั้น มีขั้นตอนในการยื่นเรื่อง การอนุมัติเห็นชอบ ตามกรอบระยะเวลา 1 ปีเต็ม ดังนั้น ครอบครัวคนพิการที่ถูกโกงกว่า 160 ชีวิตที่ร้องเรียนผ่านเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ ยังคงลำบาก ไม่ได้รับการช่วยเหลือ อีกทั้งยังถูกกีดกันในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ หรือถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากหน่วยงานรัฐ อันเนื่องจากออกมาร้องเรียน อีกทั้งคนพิการและครอบครัวเหล่านี้ไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ ตามสมควรแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญที่หน่วยงานรัฐต้องเร่งดำเนินการเยียวยาเมื่อพบว่าประชาชนได้รับความเสียหายจากการทุจริตคอรัปชั่น

ทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการจึงริเริ่มโครงการ “ยืมยืดชีวิต สร้างอาชีพ ๑๐๐ ครอบครัวคนพิการ สู้โควิด ๑๙” เป็นระยะเวลา 1 ปี (12 เดือน) เป็นจำนวนเงินครอบครัวละ 50,000 บาท x 100 ครอบครัว = 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท) และคนพิการทั้งหมดสามารถคืนเงินทุนที่ท่านผู้ใจบุญให้ยืมได้ภายใน 1 ปี แน่นอน อันเนื่องจาก คนพิการและผู้ดแลคนพิการในโครงการ เมื่อได้รับสิทธิตามมาตรา 35 มูลค่า 112,420 บาท ก็จะนำเงินส่วน 50,000 บาท คืนให้กับผู้ใจบุญทุกท่านได้อย่างแน่นอน โดยทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ จะดำเนินการทุกขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมายแห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เมื่อส่งมอบงานกับสถานประกอบการแล้ว เมื่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตรวจเยี่ยมเรียบร้อยแล้ว คนพิการและผู้ดูแลคนพิการก็จะเร่งดำเนินการ คืนเงินในส่วนที่ผู้ใจบุญได้ให้ยืมมาครบถ้วน

มูลค่าโครงการ: จำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาท)

กลุ่มเป้าหมาย: ครอบครัวคนพิการจำนวน 100 ครอบครัว ที่ร้องเรียนว่าถูกโกงสิทธิ์คนพิการ

แนวทางในการคืนเงินยืม:
·       เมื่อคนพิการได้รับเงินสำหรับส่งเสริมอาชีพคนพิการ และดำเนินการเรียบร้อย จะสามารถประกอบธุรกิจจนนำเงินมาคืนผู้ใจบุญให้ยืมได้จนครบถ้วน โดยจะมีทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการเป็นที่ปรึกษา
·       ผู้ใจบุญจะได้รับผลตอบแทน 6% เนื่องจากคนพิการและครอบครัวนำเงินให้ยืมของผู้ใจบุญไปประกอบอาชีพ ซึ่งการประกอบอาชีพนั้น ย่อมมีกำไร และการปฏิบัติเช่นนี้ เป็นเพราะทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการมีการปลูกฝังแนวทางการพึ่งตนเองให้กับคนพิการในประเทศไทย มิใช่เพียงรับการสงเคราะห์เพียงหนทางเดียว ต้องสัมมาอาชีพจนมีรายได้ มีกำไรตามหลักเศรษฐศาสตร์ ต้องคิดเป็น ทำเป็น คนพิการต้องกตัญญู และกตเวทีให้เป็น ดังนั้นการมีผลตอบแทน 6% ให้กับผู้ใจบุญนั้น เป็นข้อตกลงที่คนพิการและครอบครัวพึงกระทำ เมื่อผู้ใจบุญได้รับเงินให้ยืมคืนแล้ว รวมถึงผลตอบแทน ผู้ใจบุญยังสามารถนำผลตอบแทนไปใช้ในบุญทางอื่นได้อีก เป็นการทำให้คนพิการและครอบครัวก็ได้อานิสงฆ์บุญร่วมกับผู้ใจบุญไปด้วย
·       โดยจะมีระยะเวลาคืนเงินยืมและผลตอบแทนได้ในระยะเวลา หลังการยืมไปแล้วอย่างน้อย 12 เดือน ขึ้นกับประเภทของอาชีพนั้นๆ เช่น อาชีพร้านกาแฟโบราณ เมื่อผู้ใจบุญให้ยืม 50,000 บาทแล้ว คนพิการดำเนินการค้าไปเรื่อยๆ ตลอด 1 ปี โดยรวบรวมเงินกำไรไว้ เมื่อได้รับสิทธิส่งเสริมอาชีพ 112,420 บาท เพื่อนำไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ และวัตถุดิบเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อย คนพิการจะนำเงินกำไรที่เก็บไว้ ชำระส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือจะนำกำไรที่ได้ทุกๆ เดือน รวบรวมชำระให้ครบพร้อมผลตอบแทน เป็นต้น ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน เป็นต้น
·       อีกตัวอย่าง ที่จะสามารถคืยเงินยืมจากผู้ใจบุญได้เร็วขึ้น เช่น อาชีพเลี้ยงวัว เมื่อซื้อวัวตามงบประมาณสิทธิส่งเสริมอาชีพ 112,420 บาท และมีการส่งมอบเรียบร้อยกับสถานประกอบการและตรวจเยี่ยมจากหน่วยงานรัฐ คนพิการสามารถขายวัวเพื่อคืนเงินพร้อมผลตอบแทนได้ทันที เป็นต้น ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 12-15 เดือน

บัญชีรับโอนเงินจากผู้ใจบุญให้ยืม:
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
ชื่อบัญชี: เวิร์คเอเบิ้ล ออแกไนเซชั่น (Workable Organization)
เลขที่บัญชี: 263-157-2328
หมายเหตุสำคัญ: บางครั้งเมื่อโอนเงินแล้ว ชื่อบัญชีอาจขึ้นเป็นชื่อบุคคลว่า ชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล หรือภาษาอังกฤษ CHANUNCHIDA LIMNONTAKUL (อ่านสาเหตุด้านล่าง)

ตอบคำถามว่า: ทำไมชื่อบัญชีจึงเป็น “เวิร์คเอเบิ้ล ออแกไนเซชั่น” ไม่ใช่ “เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ”
เพราะว่า: เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ เป็นการรวมตัวกันของจิตอาสา ที่หวังเพียงเดินหน้านำหลักฐานการโกงทุจริตคอรัปชั่นประพฤติมิชอบ ส่งต่อให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ปรากฎว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้เข้าช่วยเหลือผู้เสียหายแต่อย่างใด พฤติการณ์กลับช่วยเหลือผู้กระทำความผิดแทน เครือข่ายฯ เราไม่มีทุนรอนใดๆ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นสมาคม หรือมูลนิธิ ดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้

ในเวลาเดียวกันทางเครือข่ายฯ เราจึงตัดสินใจเดินหน้าช่วยเหลือคนพิการและครอบครัวด้านอาชีพที่ยั่งยืนอย่างเต็มกำลัง จึงตัดสินใจไปจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบบุคล) โดยใช้ชื่อว่า “เวิร์คเอเบิ้ล ออแกไนเซชั่น โดยนางสาวชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล” ซึ่ง น.ส.ชนัญชิดา เป็นรองประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ ทางเครือข่ายให้จดทะเบียนพาณิชย์แทนนายปรีดา ลิ้มนนทกุล (ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ) ทำให้สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ และเหตุผลสำคัญที่ให้ น.ส.ชนัญชิดา ดำเนินการแทนนายปรีดา อันเนื่องจาก น.ส.ชนัญชิดา ร่างกายไม่พิการ สามารถไปทำธุรกรรมต่างๆ สะดวกกว่านายปรีดา เพราะนายปรีดา พิการรุนแรงกระดูกคอหัก ไม่สะดวกในการไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร

ดังนั้นการรับโอนเงินจากผู้ใจบุญ ให้คนพิการและครอบครัวในการนำไปสร้างอาชีพนั้น จึงตองโอนเงินเข้าบัญชี “เวิร์คเอเบิ้ล ออแกไนเซชั่น” แทนชื่อบัญชีเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ อีกทั้งหากการโอนเงินสำเร็จแล้ว ปรากฎเป็นชื่อของ น.ส.ชนัญชิดา ลิ้มนนทกุล ก็อาจจะเป็นไปได้ อันเนื่องจากบัญชีนี้ถือว่าเป็น “บัญชีธนาคารอ้างอิงตามหนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ โดยบุคคล”

การส่งหลักฐานการโอนเงิน:
กรุณาส่งสลิปโอนเงินมาที่ ไลน์ (LINE) 086-314-7866 พร้อมชื่อนามสกุลผู้โอน+มือถือ+ข้อมูลบัญชีธนาคารที่จะให้โอนเงินกลับ (ธนาคาร+เลขบัญชี+ชื่อบัญชี) เมื่อได้รับข้อมูลและสลิปโอนเงินแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อยืนยันข้อมูลและบันทึกข้อมูล เมื่อครบกำหนด 1 ปี เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อโอนเงินยืมพร้อมผลตอบแทนคืนผู้ใจบุญ



หมายเหตุสำคัญสำหรับผู้ใจบุญที่โอนเงินในลักษณะบริจาค:
หากผู้ใจบุญบางท่านที่ประสงค์ไม่ขอรับเงินคืน ทางเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ ขอนำเงินบริจาคดังกล่าวนำไปส่งเสริมอาชีพคนพิการรายอื่นๆ ต่อไป โดยที่คนพิการรายนั้นต้องคืนเงินทุนเพื่อนำไปหมุนเวียนสร้างอาชีพให้ครอบครัวคนพิการรายต่อๆ ไป อันเป็นการทำให้เงินบริจาคของท่านมีคุณค่าไปตลอด ตามโครงการ “คืนปันบุญ” ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป

การติดตามความคืบหน้าโครงการ: ทั้งนี้ในเรื่องการส่งเสริมอาชีพ สามารถติดตามความคืบหน้าได้ดังนี้
·       ติดต่อความคืบหน้าโดยตรงที่เว็บไซต์ส่งเสริมอาชีพคนพิการ https://workableorganization.blogspot.com/
·       ติดตามความคืบหน้าทางอ้อมที่เว็บไซต์เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ https://npr-pwd.blogspot.com/
·       ติดตามความคืบหน้าข้อมูลข่าวสารที่จะแชร์ได้ที่เพจเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ https://www.facebook.com/NPRPWD/

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม:
นายปรีดา ลิ้มนนทกุล
ประธานเครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ
มือถือ 086-314-7866 (LINE)
ที่ตั้งสำนักงาน: 93/43 หมู่ 1 ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น